สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10-16 มกราคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)ครั้งที่ 1/2562เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map)(9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62(5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,684 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,886 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,717 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,696 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,090 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,890 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,095 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,836 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,094 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,758 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,494 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,265 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 229 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,194 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,965 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 229 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 447 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,404 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,175 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 229 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9872
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
สศก. แนะเกษตรกรลุ่มน้ำเจ้าพระยาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-ถั่วเขียว-ถั่วลิสง แทนนาปรังรับมือฤดูแล้ง นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 ข้าวรอบที่ 2 (นาปรัง) จำนวน 4.54 ล้านไร่ โดยข้อมูลเบื้องต้นจากการรายงานผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 8 มกราคม 2563 พบว่า มีการเพาะปลูกข้าวนาปรังแล้ว 3.12 ล้านไร่ หรือร้อยละ 68.72 ของแผน
สำหรับเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (22 จังหวัด) มีพื้นที่ข้าวนาปรังประมาณ 7.89 ล้านไร่ ซึ่งในปี 2563 เกษตรกรปลูกข้าวนาปรังแล้ว 2.25 ล้านไร่ (แบ่งเป็น ในเขตชลประทาน 1.59 ล้านไร่ ซึ่งไม่อยู่ในแผนการเพาะปลูก และนอกเขตชลประทาน 0.66 ล้านไร่) คิดเป็น 2.14 เท่า ของแผนการเพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (22 จังหวัด) ดังนั้น จะเหลือพื้นที่ที่ยังไม่ปลูกข้าวนาปรัง ประมาณ 5.64 ล้านไร่
ทั้งนี้ หากเกิดภัยแล้งอาจจะเกิดปัญหาการพิพาทกันในเรื่องการแย่งน้ำระหว่างเกษตรกร และปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในบางพื้นที่ รวมทั้งปัญหาในเรื่องเกษตรกรบางส่วนต้องซื้อน้ำหรือสูบน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อไม่ให้ข้าวที่ปลูกแล้วเสียหาย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวนาปรังมีแนวโน้มสูงขึ้น
สศก. ได้ศึกษาแนวทางการส่งเสริมปลูกพืชทางเลือก ที่ใช้น้ำน้อยที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (22 จังหวัด) ที่ยังไม่ได้ปลูกข้าวนาปรัง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และพืชตระกูลถั่ว (ถั่วลิสง ถั่วเขียว) เนื่องจากเป็นพืชที่ทนแล้ง และดูแลรักษาง่าย โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลิตได้ปีละประมาณ 4.73 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ประมาณ 8.44 ล้านตัน ผลผลิตจึงขาดอีกประมาณ 3.71 ล้านตัน (คิดเป็นพื้นที่ปลูก 4.74 ล้านไร่) แต่มีพื้นที่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (22 จังหวัด) เพียง 3.41 ล้านไร่เท่านั้น ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีต้นทุนการผลิต 4,370.18 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 7,810 บาท/ตัน เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) จากการส่งเสริมปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม 1,737.24 บาท/ไร่ ทั้งนี้คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 2.67 ล้านตัน (คำนวณจากผลผลิตต่อไร่ 782 กก.) ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาแน่นอน เนื่องจาก
ยังไม่เกินความต้องการใช้
ถั่วลิสง เป็นพืชปรับปรุงบำรุงดิน โดยปัจจุบันผลิตได้ปีละประมาณ 32,810 ตัน ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ประมาณ 115,000 ตัน ส่งผลให้ผลผลิตถั่วลิสงยังไม่เพียงพอประมาณ 80,000 ตัน ดังนั้น หากจะส่งเสริมปลูกถั่วลิสงทดแทนการปลูกข้าวนาปรังและให้เพียงพอกับความต้องการอีก 80,000 ตัน จะต้องใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 0.23 ล้านไร่ (คำนวณจากผลผลิตต่อไร่ 352 กก.) โดยถั่วลิสงมีต้นทุนการผลิต 5,943 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 56.09 บาท/กก. เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) ถึง 13,800.68 บาท/ไร่
ถั่วเขียว นอกจากเป็นพืชช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินแล้ว ยังใช้น้ำน้อยและดูแลรักษาง่าย ปัจจุบันผลิตได้ปีละประมาณ 112,485 ตัน ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ประมาณ 134,000 ตัน ส่งผลให้ผลผลิตถั่วเขียวยังไม่เพียงพอประมาณ 20,000 ตัน ดังนั้น หากจะส่งเสริมปลูกถั่วเขียวทดแทนการปลูกข้าวนาปรังและให้เพียงพอกับความต้องการอีก 20,000 ตัน จะต้องใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 0.14 ล้านไร่ (คำนวณจากผลผลิตต่อไร่ 140 กก.) โดยถั่วเขียวมีต้นทุนการผลิต 2,397 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 21.71 บาท/กก. เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 642.40 บาท/ไร่
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) 
 
จีน
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Center) สามารถขายข้าวเปลือกเก่าจากสต็อกรัฐบาล ปี 2557-2558 ได้ประมาณ 34,078 ตัน จากที่นำข้าวเปลือกเก่าออกมาประมูลประมาณ 282,336 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 12.07 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,940 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 279 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และขายข้าวเปลือกเก่าจากสต็อกรัฐบาล ปี 2559-2561 ได้ประมาณ 662 ตัน จากที่นำข้าวเปลือกเก่าออกมาประมูลประมาณ 300,909 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 0.22 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,300 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 331 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
นายฮั่น จุน รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและกิจการชนบทของจีน เปิดเผยกับไฉซินซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวสารด้านการเงินของจีนว่า จีนจะยังไม่เพิ่มโควตาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐ แม้จะเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างจีนและสหรัฐก็ตาม โดยนายฮั่นเปิดเผยว่า โควตาการนำเข้าข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าวนั้น จะไม่ปรับเปลี่ยน
เพื่อประเทศใดประเทศหนึ่ง
เมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ เปิดเผยว่า สหรัฐบรรลุ ข้อตกลงการค้าเฟสแรกกับจีนแล้ว โดยจีนตกลงที่จะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการในส่วนของการผลิตเกษตรและพลังงานของสหรัฐเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ยังกล่าวว่า จีนจะซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐ มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม ทางการจีนไม่ได้ออกมายืนยันตัวเลขดังกล่าว ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า สหรัฐและจีน
จะลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์ที่จะถึงนี้
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย     
อินเดีย
ราคาส่งออกข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ในระดับทรงตัวท่ามกลางภาวะการค้าที่ซบเซา เนื่องจากคำสั่งซื้อจากประเทศในแถบแอฟริกามีน้อย โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 362-366 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ก่อน
สมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย (The All India Rice Exporters Association; AIREA) แนะนำให้สมาชิกระงับการส่งข้าวไปยังประเทศอิหร่านท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยสมาคมจะมีการจัดประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวในเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ การส่งออกข้าวบาสมาติของอินเดียไปยังอิหร่านนั้น ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเนื่องจากบริษัทรับประกันภัยยังไม่พร้อมที่จะให้ความคุ้มครอง ในการจัดส่งท่ามกลางความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างสหรัฐฯ และ อิหร่าน และมีรายงานว่าเนื่องจากความตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีข้าวบาสมาติของอินเดียประมาณ 50,000 ตันถูกระงับไว้ที่ท่าเรือ
กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture) รายงานว่า การเพาะปลูกข้าวในฤดูหนาว หรือ Rabi rice (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) ในปีการผลิต 2562/63 มีการเพาะปลูกแล้วประมาณ 11.59 ล้านไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2563) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีการผลิต 2561/62 โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายผลผลิตข้าวในปีการผลิต 2562/63 (กรกฎาคม-มิถุนายน) ทั้งในฤดู Kharif และ Rabi รวมกันไว้ที่ประมาณ 116 ล้านตัน โดยในฤดู Kharif คาดว่าจะมีประมาณ 102 ล้านตัน และ ฤดู Rabi คาดว่าจะมีประมาณ 14 ล้านตัน
เมื่อเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตร (the Agriculture Ministry) รายงานผลการพยากรณ์ผลผลิตธัญพืช ครั้งที่ 1 (First Advance Estimate of Food Grain Production) สำหรับปีการผลิต 2562/63 (กรกฎาคม 2562-มิถุนายน 2563) โดยคาดว่าในฤดูการผลิต Kharif (กรกฎาคม-ธันวาคม) ของปี 2562/63 จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 100.35 ล้านตัน (ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 102 ล้านตันข้าวสาร) ลดลงประมาณร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 102.13 ล้านตัน ในปี 2561/62 แต่มากกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่ 93.55 ล้านตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.84 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.36 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.66
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.61 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.21 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,696 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 291.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,719 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 23 บาท  
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 385.36 เซนต์ (4,616 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 384.56 เซนต์ (4,600 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 16 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.325 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.239 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.080 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.194 ล้านตัน ของเดือนธันวาคม 2562 คิดเป็นร้อยละ 22.69 และร้อยละ 23.20 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.62 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.91 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.01
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 39.45 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 37.20 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.05                
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
การตลาด
มาเลเซียคาดว่าความต้องการน้ำมันปาล์มจากจีนจะลดลง หลังจากที่อเมริกา-จีน เริ่มสัญญาซื้อขายเฟสที่หนึ่ง ความต้องการน้ำมันปาล์มจากอินเดียคาดว่าจะลดลงเช่นเดียวกัน เนื่องจากอินเดียต้องการตอบโต้ที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด วิจารณ์การปฏิบัติงานในรัฐแคชเมียร์ และการออกกฎหมายสัญชาติพลเมืองอินเดีย โดยอินเดียออกกฎห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์จากมาเลเซีย มาเลเซียส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เป็น 25.7 ล้านตัน (ม.ค.-พ.ย. 62) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ส่งออกอยู่ที่ 23.1 ล้านตัน ซึ่งตอนนี้มาเลเซียกำลังมองหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เทเรซ่า ค็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน กล่าวว่าประเทศคาซัคสถานและอุซเบกิสถาน เริ่มมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มมากขึ้นเรื่อยๆ และมองว่าซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และอัฟกานิสถาน เป็นตลาดที่มีศักยภาพ เพราะมีจำนวนประชากรมากและผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,064.15 ดอลลาร์มาเลเซีย (23.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,079.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (23.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 848.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25.81 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 856.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.98      
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล

 
1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ         
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 14 มกราคม 2563 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 36,850,194 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 18,991,205 ตัน และอ้อยไฟไหม้ 17,858,989 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 3,713,080 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 2,977,479 ตัน  และน้ำตาลทรายขาว 735,601 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.10 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 100.76 กก.ต่อตันอ้อย

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ 



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.33 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.89
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนคาดการณ์ว่า ปี 2563 นำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรแห่งจีน เปิดเผยว่า จีนจะนำเข้าถั่วเหลือง
ในปี 2563 เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง และกล่าวถึงในปี 2562 มีการนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาลดลงหลังจาก
ได้มีข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในขณะที่จีนนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิลและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 929.04 เซนต์ (10.39 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 934.0 เซนต์ (10.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 299.12 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.10 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 296.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.82
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.54 เซนต์ (22.49 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 34.43 เซนต์ (23.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.58

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.50 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 23.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,033.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,034.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 932.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 933.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11  แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,100.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,101.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 664.20 ดอลลาร์สหรัฐ (19.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 665.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,160.60 ดอลลาร์สหรัฐ (34.80 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,161.80 ดอลลาร์สหรัฐ (34.79 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.67 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 8.07
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 9.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.95 เซนต์(กิโลกรัมละ 47.59 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 69.94 เซนต์ (กิโลกรัมละ 46.85 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.74 บาท
 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,791 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,800 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.5
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,457 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,468 บาทจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.75
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 783 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผลผลิตสุกรบางส่วนมีการส่งออกได้มากขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรเกษตรกรขายได้ยังคงสูงขึ้น   แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลวันตรุษจีน
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  67.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.98  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.42 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.93 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,700 บาท (บวกลบ 78 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,500 บาท (บวกลบ 74 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา    ร้อยละ 8.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.76

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อสอดคล้องกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลวันตรุษจีน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.65 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและเริ่มสะสม ขณะที่ความต้องการบริโภคไข่ไก่ยังคงมีไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 274 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 277 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 270 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 267 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 331  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 365 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.11 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.00 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.43 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.63 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(ระหว่างวันที่ 10 – 16 มกราคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.69 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.89 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.54 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.96 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 176.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 182.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา